Committed to connecting the world

Girls in ICT

การประชุมสัมมนาเรื่องแนวทางการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชนในประเทศไทย

​​​​​พระราชบัญญัติองค์จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ดำเนินการเพื่อให้มีแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบกิจการ แนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ โดยในส่วนกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ต้องจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ และไม่แสวงกำไรในทางธุรกิจในการประกอบกิจการชุมชนไม่น้อยกว่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของคลื่นความถี่ในแต่ละพื้นที่ของการอนุญาตประกอบกิจการ และให้มีการประกาศให้ใช้ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลในประเทศไทย โดยแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 5.6 การเปลี่ยนผ่านไปสู่รับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอล ได้กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ ให้มีการเริ่มรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอลในประเทศไทย ภายใน 4 ปี ดังนั้น กสทช. จึงได้กำหนดกรอบนโยบาย แนวทาง ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ในเบื้องต้น ได้กำหนดช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชน 12 ช่อง (แต่ละเขตบริการ) ทั้งนี้เป็นที่คาดว่ากระบวนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในเชิงสังคม เกิดการพัฒนาในชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสร้างพลังของชุมชนให้มีสิทธิ์มีเสียงในสังคมมากขึ้น ส่งผลให้คนกลุ่มต่าง ๆ ในท้องถิ่นเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นของการรับข่าวสาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ความต้องการและอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์

 

สำนักงาน กสทช. ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ Contribution Agreement for Project on Development of a Framework for Introducing Community TV Broadcasting Services in Thailand ในการดำเนินการโครงการความร่วมมือกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU : การศึกษาแนวทางประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบายและแนวทางการประกอบกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชนในประเทศต่างๆ ประกอบกับการศึกษานโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชนของประเทศไทย รวมถึงเสนอแนะนโยบายและแนวทางปฏิบัติสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชนของประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทยในอนาคต โดยมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมเรื่อง 

  (1)   กรณีศึกษาการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในต่างประเทศ 
  (2)   แนวทางการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชนในประเทศไทย
  (3)   แนวปฎิบัติและข้อแนะนำสำหรับโครงการนำร่องทดลองการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย 
  (4)   การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร

ในการนี้ สำนักงาน กสทช. ได้กำหนดให้มีการประชุมเชิงวิชาการ แนวทางการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชนในประเทศไทย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทรทัศน์ชุมชน และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเริ่มทดลองให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน รวมทั้งประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริการโทรทัศน์ชุมชน แนวทางและกรอบการกำกับดูแล มาตรฐานและเทคโนโลยี โครงข่ายการส่งสัญญาณ กรณีศึกษาต่างประเทศ การหารายได้และการสนับสนุน รวมทั้งแนวปฏิบัติ ให้แก่ผู้ประกอบการ นักวิชาการ พนักงานของสำนักงาน กสทช. ผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่สนใจ

การประชุมดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถลงทะเบียนออนไลน์เข้าร่วมงานได้ที่ http://event.ictdforum.org ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 หรือกรอก แบบลงทะเบียน แล้วส่งมาที่อีเมล์ ctv.nbtc@gmail.com 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ น.ส.วรรณพร อึ้งตระกูล หรือ ​ น.ส.จิตฐมาศ คุปตจิตต์ (email: ctv.nbtc@gmail.com ​หรือเบอร์โทร 02-271-0151 ถึง 60 ต่อ 883 หรือแฟกซ์ 02-278-​5493​
​​

ร่างกำหนดการ

​วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559

​08:30 - 09:30​ลงทะเบียน

​09:30 - 10:00

​เปิดการประชุม


   • กล่าวต้อนรับ โดย นายสมบัติ ลีลาพตะ ผู้อำนวยการสำนักกิจการโทรทัศน์
     ในระบบดิจิตอล สำนัก​งาน กสทช.

   • กล่าวเปิดงาน โดย กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์

​10:00 - 10:20
 

​วาระที่ 1 : บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลและบริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย


   • โดย นางสาวอรศรี ศรีระษา ผู้อำนวยการส่วน สำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
      สำนักงาน กสทช.

​10:20 - 10:30​ถ่ายรูปร่วมกันและพักรับประทานอาหารว่าง

​10:30 - 12:00

​วาระที่ 2 : แนวทางการกำกับดูแลการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย


   • กรณีศึกษาของต่างประเทศและแนวทางการกำกับดูแลการให้บริการโทรทัศน์ชุมชน
     ในประเทศไทย โดย Dr Murray Green ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาสื่อและที่ปรึกษา
     กฎหมายด้านสื่อ

   • Mr Sharad Sadhu ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ 
   • สรุปรายงานการศึกษาเรื่องการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย                
     โดย นายวิสิฐ อติพญากุล ผู้จัดการโครงการ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

​12:00 - 13:00​พักรับประทานอาหารกลางวัน

​13:00 - 14:15

​วาระที่ 3 : โครงการพัฒนาต้นแบบโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย


ผู้ดำเนินรายการ: ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ 
   • นางสาวอรศรี ศรีระษา ​ผู้อำนวยการส่วน สำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล      
     สำนักงาน กสทช. ​ 
   • นายสมเกียรติ จันทรสีมา ​ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อข่ายสาธารณะ องค์การ
     กระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย​
   • นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน
   • นายสุชัย เจริญมุขยนันท มูลนิธิสื่อสร้างสุข จังหวัดอุบลราชธานี

   • นายชัยวัฒน์ จันธิมา ​พะเยาทีวีชุมชน จังหวัดพะเยา
   • นายประสาร สถานสถิตย์ มูลนิธิรักษ์ไทย “โครงการทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง”
   • อาจารย์อังคณา พรมรักษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม​             ​
​14:15 - 14:45 ​สาธิตกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ (TV production)
14:45 - 15:00​พักรับประทานอาหารว่าง

​15:00 - 16:30

​วาระที่ 4 : แนวทางการส่งเสริมบริการโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย


ผู้ดำเนินรายการ: ผศ.ดร. ภัทรา บุรารักษ์
   • กสทช.สุภิญญา กลางณรงค์
  
• รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ
     แห่งประเทศไทย
   • ​ผศ. ดร.กุสุมา กูใหญ่ รองคณบดี คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     วิทยาเขตปัตตานี

   • ​คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ 
            ​

   • พ.อ.บัณฑิต แสงอ่อน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิตอล สถานีวิทยุ
     โทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

​16:30 - 17:00

​สรุปและปิดการประชุม


   • สรุปและกล่าวปิดงาน โดย กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์